วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

4
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
3
เป็นศิลปวัฒนธรรมในด้านประเพณีไทย ที่มีการสืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่เมื่อพระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้ามายังประเทศไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นต้นมาดังพระราชปรารภในพระเจ้าอยู่หัวลิไท ซึ่งปรากฏในศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ซึ่งจารึกเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ มีใจความว่าในเดือนหกบูรณมี ผิจักนับด้วยวัน ได้เจ็ดแสนหมื่นสี่ร้อยหกสิบแปดวัน พระได้เป็นพระพุทธนั้นนาในวันพุธวันหนไทย วันเตาญี ผิมีคนถามศาสนาพระเป็นเจ้ายังเท่าใดจักสิ้นอัน ให้แก้ว่าดังนี้ แต่มีอันสถาปนาพระมหาธาตุนี้เมื่อหน้า ได้สามพันเก้าสิบเก้าปีจึงจักสิ้นศาสนาพระเป็นเจ้าอันหนึ่งโสด นับแต่มีสถาปนาพระมหาธาตุนี้ เมื่อหน้าเก้าสิบเก้าปีถึงปีกุนอันว่าพระปิฎกไตรยนี้จักหายและหาคนรู้จักแท้แลมิได้เลย ยังมีคนรู้คั่นสเล็กสน้อยไซร้ ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่าพระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย จึงเห็นได้ว่าประเพณีการเทศน์มหาชาตินั้น เป็นศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ไทย ซึ่งประชาชนให้ความสนใจและประพฤติปฏิบัติเป็นประเพณี สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเทศน์มหาชาติเป็นการปลูกฝังคุณธรรมความดีงาม ตามเนื้อหาของเรื่อง อันมีกระแสแห่งความเมตตา ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ประชาชนได้รู้จักมีความโอบอ้อมอารี ผู้ที่ได้รับฟังเทศน์มหาชาติ ย่อมได้รับการปลูกฝังคุณธรรม อันประเสริฐ การฟังเทศน์มหาชาติ ประชาชนนิยมฟังกันอย่างมิเบื่อหน่าย ทั้งนี้เพราะได้รับความเพลิดเพลินจากการฟัง อันเนื่องจากการเทศน์มหาชาตินั้น มีท่วงทีลีลาทำนองที่ให้อรรถรสหลายหลาก และแตกต่างกันไปในแต่ละกัณฑ์
เอกสารอ้างอิง

จันทรา เรือนทองดี.(2547).เพลงแหล่ในเทศน์มหาชาติจังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พระมหาบุญเลิศ ปุญญวโร.สัมภาษณ์ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
นายเจือ พันธ์น้อย สัมภาษณ์ ๖ กันยายน ๒๕๔๕.
นายแจ่ม เขตน้อย. อายุ ๘๗ ปี (วิทยากรท้องถิ่น)
นางอุ่ม ชุ่มสด. อายุ ๗๕ ปี (วิทยากรท้องถิ่น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น