วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ที่มาและประเภทของการแหล่

คำว่าแหล่นั้น เกิดจากประเพณีเทศน์มหาชาติ เมื่อพระเทศน์มหาชาติจบตอนหนึ่งหรือบทหนึ่ง ในตอนใกล้จบ เนื้อแหล่จะมีคำลงสุดท้ายว่า “นั่นแล” เช่น กัณฑ์ทศพร ลงท้ายว่า “ด้วยพระทัยอนุโมทนาในกาลบัดนั้นแล” กัณฑ์หิมพานต์ ลงท้ายว่า “ดังพรรณนามาฉะนี้แล้วแล” กัณฑ์วนประเวศน์ ลงท้ายว่า “อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน โดยประการดังแสดงมาฉะนี้แล” กัณฑ์มัทรี ลงท้ายว่า “อิติ เมาะ อิมินา นิยาเมน โดยนิยมมาดังนี้แล” กัณฑ์มหาพน ลงท้ายว่า “ตํ ปเทสํ สู่ประเทศ ณ ที่นั่นแล” กัณฑ์มหาราช ลงท้ายว่า “ตํ ปเทสํ ยังประเทศที่นั้นแล” ดังนั้น คำว่า “แหล่” จึงสันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า “แล” ซึ่งเป็นคำลงท้ายของทุกกัณฑ์ เวลาลงเสียงมักลากเสียงยาว ๆ “แล” จึงได้ยินเป็น “แหล่"
การแหล่มหาชาติโดยทั่วไปจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ แหล่ในท้องเรื่องตามชาดกในหนังสือผูก และแหล่นอกท้องเรื่อง เรียกว่า “แหล่ใน” กับ “แหล่นอก”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น